รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 2 : จังหวัดพิษณุโลก

: ชื่อผู้วิจัย รศ.ดร.สำราญ มีแจ้ง
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2556
: 2678

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

จากผลการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) พบว่าคุณภาพนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหา กล่าวคือมีโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาในรอบที่ 2 กว่า 500 โรงเรียน โรงเรียนเหล่านี้คือโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน การพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กจึงมีความจำเป็นและต้องหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมและแตกต่างไปจากโรงเรียนขนาดอื่นๆ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ประสานความร่วมมือในการพัฒนาครูและผู้บริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูและการบริหารโรงเรียนพบว่า ครูทุ่มเทความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ประสบความสำเร็จ เพราะครูได้รับความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน การนำเสนอแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่าโรงเรียนได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ของตนเอง โดยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค นำมาสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่ตรงประเด็น

2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก มีกระบวนการพัฒนาครูและผู้บริหาร เริ่มจากวิเคราะห์บริบทของโรงเรียน แล้วนำมาจัดทำแผนพัฒนาครูและผู้บริหาร โดยแผนนั้นมีการเรียนรู้จากภายในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่และการเรียนรู้จากภายนอก

3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครู และผู้บริหารสถานศึกษาอแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานพบว่า

3.1 คณะวิจัยและโรงเรียนได้มีการดำเนินการพัฒนาครูและผู้บริหารตามแผนที่กำหนดไว้ ภายหลังการอบรมครูได้มีการนำสาระที่ได้จากการอบรมไปใช้เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน

3.2 ผลการศึกษาความคิดเห็นผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบโรงเรียนเป็นฐานฯ พบว่าผู้บริหารและครูมีความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนาในระดับมากที่สุด

3.3 ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่านักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม มีความกระตือรือร้น ความขยัน ความรับผิดชอบ ร่วมมือกันทำงาน มีจิตสาธารณะ ใฝ่เรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

3.4 ความคิดเห็นที่มีต่อโครงการพัฒนาครูและผู้บริหาร

3.4.1 ครูและผู้บริหารสถานศึกษามีวิธีและกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้หลากหลาย ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจและตั้งใจมากขึ้น

3.4.2 วันเวลาที่เข้าร่วมโครงการ ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของครูและผู้บริหารสถานศึกษามากขึ้น มีงานอื่นแทรกเข้ามาในระหว่างการอบรม ทำให้นำความรู้จากโครงการมาปฏิบัติได้ไม่ดีเท่าที่ควร

3.4.3 สิ่งที่ได้รับจากการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้การดำเนินงานในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น

3.4.4 ข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปใช้ขยายผลโครงการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาในระยะที่ 3 พบว่า ต้องให้โรงเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการทราบวิธีการและกระบวนการในการทำงานเพราะต้องอาศัยความตระหนักและความตั้งใจในการทำงานเป็นอย่างมากจึงจะทำให้การทำงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์

`

รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 2 : จังหวัดพิษณุโลก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.