การมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยสีเขียว) : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
Participation of Students in Friendly Environment (Green University): Case study in Rajamangala University of Technology Isan Sakonnakhon Campus

: ชื่อผู้วิจัย นาย จักเรศ เมตตะธำรงค์
: ตำแหน่ง อาจารย์
: อุดมศึกษา
: ปี 2559
: 7970

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (2) เพื่อศึกษาปัจจัยข้อมูลของนักศึกษาต่อการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3) เพื่อศึกษาปัจจัยข้อมูลของนักศึกษาต่อแนวทางในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของนักศึกษาที่ส่งผลต่อแนวทางในการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จำนวน 400 คน จากสาขาต่าง ๆ ทั้งสองคณะ โดยใช้แบบสอบถาม แบบประมาณค่า 5 ระดับที่ผ่านการหาค่าอำนาจการจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป และผ่านการหาค่าความเชื่อมั่นโดยมีสัมประสิทธิ์แผลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Coefficient of Alpha) ระหว่าง 0.319-0.843 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้การทดสอบค่า t-test และ F-test ถ้าพบค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการLeast-Significant Different (LSD) รวมถึง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple Correlation Coefficient) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยสรุปได้

ดังนี้ 1) ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 50.8

มีอายุ 21-25 ปี

ร้อยละ 65.5 ระดับปีการศึกษา 4 ปี

ร้อยละ 33.0

สาขาวิชาที่ศึกษาเป็นสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าร้อยละ 23.5 โดยนักศึกษามีแนวคิดที่จะร่วมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด

คือ 4.07 นักศึกษามีความคิดเห็นว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะช่วยให้สังคมมีสภาพแวดล้อมที่ดีมากยิ่งขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.04 นักศึกษามีความเชื่อมั่นว่าหากร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้วจะทำให้สังคมมีสภาพแวดล้อมที่ดี

มีค่าเฉลี่ย 4.03 ในเรื่องแนวทางในการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นักศึกษาเล็งเห็นคุณค่าของการประหยัดน้ำประปา และไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืนค่าเฉลี่ยมากที่สุด

คือ 4.00 นักศึกษามีจิตสำนึกในการร่วมรณรงค์เพื่อความยั่งยืนมีค่าเฉลี่ย

3.94 และ การคาดหวังผลลัพธ์ของความยั่งยืนในสิ่งแวดล้อมจากการร่วมรณรงค์ มีค่าเฉลี่ย 3.93

2) ผลการศึกษาปัจจัยข้อมูลของนักศึกษาต่อการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พบว่าข้อมูลการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจำแนกตามเพศ

และจำแนกตามอายุมีแนวคิดที่ไม่แตกต่างกัน การมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจำแนกตามระดับปีที่ศึกษาและจำแนกตามสาขาวิชาที่ศึกษามีแนวคิดที่แตกต่างกัน

3) ผลการศึกษาปัจจัยข้อมูลของนักศึกษาต่อแนวทางในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พบว่าข้อมูลด้านความสำคัญของการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจำแนกตามเพศมีแนวคิดที่ไม่แตกต่างกัน

แต่ความรู้ในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การรับทราบข้อมูลในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

และองค์ประกอบของความยั่งยืน จำแนกตามเพศมีแนวคิดที่แตกต่างกัน

และข้อมูลการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจำแนกตามอายุมีแนวคิดที่ไม่แตกต่างกัน

ข้อมูลการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อแนวทางในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจำแนกตามระดับปีที่ศึกษามีแนวคิดที่แตกต่างกัน

ข้อมูลการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อแนวทางในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจำแนกตามสาขาวิชาที่ศึกษามีแนวคิดที่แตกต่างกัน

4) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของนักศึกษาที่ส่งผลต่อแนวทางในการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

พบว่าการมีส่วนร่วมของนักศึกษามีผลต่อแนวทางในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ซึ่งแต่ละตัวมีความสัมพันธ์ต่อกัน

และสามารถทำนายแนวทางในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้





`

การมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยสีเขียว) : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนครParticipation of Students in Friendly Environment (Green University): Case study in Rajamangala University of Technology Isan Sakonnakhon Campus is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.