การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละระดับในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

: ชื่อผู้วิจัย ผูชวยศาสตราจารย ดร.กิ่งเพชร สงเสริม
: ตำแหน่ง -
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2557
: 247

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละระดับในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่จัดการศึกษาให้กับเด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละระดับในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กและสร้างโรงเรียนแม่ข่ายที่จัดการเรียนรวมแบบคละระดับในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก วิธีดำเนินการการวิจัยมี 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่จัดการศึกษาให้กับเด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่มีนักเรียนตั้งแต่ 120 คนลงมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ ในปีการศึกษา 2555 จำนวน 8 โรง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละระดับในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละระดับในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ที่ศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดสุรินทร์ที่มีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 5 โรง ได้แก่ โรงเรียนบ้านม่วงหนองตาด อำเภอโนนนารายณ์ โรงเรียนบ้านลำดวนพัฒนา อำเภอปราสาท โรงเรียนบ้านหนองยาว อำเภอปราสาท โรงเรียนบ้านพันธุลี อำเภอเมือง โรงเรียนบ้านโคกปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ขั้นตอนที่ 4 การสร้างโรงเรียนเครือข่ายที่จัดการเรียนรวมแบบคละระดับในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนตั้งแต่ 120 คน ลงมา ในจังหวัดสุรินทร์ที่มีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 2 โรง ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์) อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์และโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ผลการวิจัย

1. ศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่จัดการศึกษาให้กับเด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พบว่าคุณภาพการจัดการศึกษาอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน การจัดการเรียนการสอนยังไม่สามารถสนองความต้องการและความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคลได้ มีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมทำให้ยากแก่การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ขาดแคลนงบประมาณและบุคลากร

2. การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละระดับในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสร้างเอกสารประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละระดับและเครื่องมือประเมินความสอดคล้อง

3. การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละระดับในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

3.1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนที่เป็นเด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษของโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

3.2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษของโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

4. การสร้างโรงเรียนเครือข่ายที่จัดการเรียนรวมแบบคละระดับในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่มีนักเรียนตั้งแต่ 120 คนลงมาที่มีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 2 โรง ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก(กองทัพบกอุปถัมภ์) อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์และโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนทั้งสองแห่งมีความพร้อมด้านบุคลากรและผู้บริหารในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเข้าสู่การจัดการเรียนรวมแบบคละระดับ

`

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมแบบคละระดับในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.

งานวิจัยล่าสุด