การพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย
Process development of learning activities for preschool children
: ชื่อผู้วิจัย รศ.ดร. สรวงพร กุศลส่ง
: ตำแหน่ง -
: ปฐมวัย
: ปี 2554
: 412
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อศึกษารูปแบบวิธีการสอนเทคนิคและองค์ประกอบในการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย และเพื่อให้ความรู้ และ
ส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาได้ใช้ความสามารถในการถ่ายโยงความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูปฐมวัยจากศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เพชรบูรณ์ ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนตำบลดงมูลเหล็ก โรงเรียนรัฐบาลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์(บ้านซับขลุง) และโรงเรียนเทศบาลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์(เทศบาลตำบลดงขุย) จำนวน 20 คน ผู้ปกครอง และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยจากศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนตำบลดงมูลเหล็ก โรงเรียนรัฐบาลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1 (โรงเรียนบ้านซับขลุง) และโรงเรียนสังกัดเทศบาลตำบลดงขุย (ศูนย์พัฒนาเด็กตำบลดงขุย) จำนวน 80 คน รวม 100 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น แบบแผนการอบรม แบบสารวจความพึงพอใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย พบว่าครู ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาระดับปฐมวัย เห็นด้วยกับการที่ สถานศึกษามุ่งการคิดเตรียมความพร้อมตามแผนการจัดประสบการณ์ในระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นความพร้อมทางด้านร่างกาย, อารมณ์-จิตใจ, สังคม, สติปัญญา โดยผ่านการจัดกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก รวมทั้ง ด้านศิลปะ เช่น การปั้น วาด พับ ฉีก ตัดปะ ฯลฯ อีกทั้งเห็นด้วยที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง และครูผ่านสมุดพฤติกรรม เพราะจะเป็นการชี้แจงและแจ้งให้ผู้ปกครองทราบถึงพฤติกรรมและพัฒนาการในด้านต่างๆ ของ เด็กปฐมวัย ทำให้ได้รับความร่วมมือในการพัฒนาให้เด็กมีความพร้อมทั้งที่บ้าน และสถานศึกษาไปในทิศทางเดียวกันในระดับร้อยละ 90 ขึ้นไป
2. จากการศึกษาพบว่ารูปแบบวิธีการสอน และการส่งเสริมความรู้การเชื่อมโยงประยุกต์ใช้บุคลากรที่ให้บริการด้านการศึกษา เห็นด้วยกับการที่ครูมีความเอาใจใส่ต่อเด็ก มีความรักเด็ก มีบุคลิกภาพ และการแต่งกายเรียบร้อย มีอารมณ์ดี มีมารยาท มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเด็กปฐมวัยและผู้ปกครองในระดับร้อยละ 90 ขึ้นไป สำหรับด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร เห็นด้วยที่สถานศึกษามีการพาเด็กไปปฏิบัติกิจกรรมในวันสำคัญ เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกที่ดี เพื่อมุ่งเน้นให้เด็กได้มีการพัฒนาการที่เหมาะสมสถานศึกษาควร มีการจัดให้บริการประกันอุบัติเหตุ ในระดับร้อยละ 90
3. ความพึงพอใจของครูปฐมวัยในการได้รับการเรียนรู้ด้านการศึกษาปฐมวัยจากการสังเกตการสอนพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด

การพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัยProcess development of learning activities for preschool children is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.