กลยุทธ์การนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
World-Class Standard School Policy Implementing Strategies of Secondary School in the Northeast Region

: ชื่อผู้วิจัย นายภูริ บานทอง
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2560
: 1652

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการปรับปรุง การนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างกลยุทธ์การนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเพื่อประเมินกลยุทธ์ในการนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับประชากร คือ โรงเรียนมาตรฐานสากล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 126 โรง ได้กลุ่มตัวอย่าง 26 จากร้อยละ 20 จากประชากรทั้งหมด ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 359 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม จากการสนทนากลุ่มโดยใช้รูปแบบ SWOT Matrix และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ ผลการวิจัย พบว่า

1. ความต้องการจำเป็นในการปรับปรุงกลยุทธ์การนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.20 และด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูง และจัดว่าเป็นจุดอ่อน จำนวน 3 หมวด ได้แก่ หมวดการปฏิบัติการ มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.24 หมวดกลยุทธ์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น เท่ากับ 0.23 และหมวดการวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.22 ตามลำดับ

2. กลยุทธ์ในการนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ ประกอบ 3 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์พัฒนาการบริหารและการจัดการองค์กร กลยุทธ์พัฒนากระบวนการสร้างกลยุทธ์ด้วยระบบคุณภาพ และกลยุทธ์พัฒนาระบบสารสนเทศและการจัดการความรู้ ประกอบด้วยกลยุทธ์รอง 15 กลยุทธ์ และ 88 แนวทางปฏิบัติ

3. ผลการประเมินกลยุทธ์ด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในระดับมาก สำหรับแนวทางปฏิบัตินั้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

`

กลยุทธ์การนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือWorld-Class Standard School Policy Implementing Strategies of Secondary School in the Northeast Region is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.