การวิเคราะห์จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ (FTES) ที่มีผลต่อ การดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2559 – 2563 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Analysis of the number of full-time students equivalent to the number of full-time instructors (FTES) affecting the implementation of internal quality assurance at the faculty level for the academic year 2016-2020 of the Faculty of Engineering a University.

: ชื่อผู้วิจัย นาย ชยภร ศิริโยธา
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: อุดมศึกษา
: ปี 2565
: 256

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์ผลการคำนวณสัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES ประจำปีการศึกษา 2559 – 2563 2) วิเคราะห์ความแตกต่างตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES และตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 และ 3) การแปลผลความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน FTES เป็นค่าคะแนนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ผู้วิจัยนำแบบบันทึกสรุปผลการวิเคราะห์ค่าความแตกต่างและแบบประเมินสรุปคะแนนการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559 – 2563 จำนวน 5 เล่ม และผลการวิเคราะห์ SWOT Analysis มาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน พบว่า 1) สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES มีจำนวนสัดส่วนที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ที่ 25.82 32.14 34.27 46.22 และ 51.75 2) ค่าความแตกต่างตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES และตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 มีจำนวนค่าความแตกต่างที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ที่ 5.82 (25.82 : 1) 12.14 (32.14 : 1) 14.27 (34.27 : 1) 26.22 (46.22 : 1) และ 31.75 (51.75 : 1) และ 3) การแปลผลความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน FTES เป็นค่าคะแนนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ มีการแปลผลค่าคะแนนที่ไม่เป็นไปตามคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ.2557 อยู่ที่ 29.08 (0.00 คะแนน) 60.69 (0.00 คะแนน) 71.37 (0.00 คะแนน) 131.08 (0.00 คะแนน) และ 158.76 (0.00 คะแนน) จากวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในครั้งนี้ จะนำไปกำหนดทิศทางการวางแผนวิเคราะห์ผลการดำเนินงานลงไปในรายหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนของคณะเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่จะดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเกณฑ์มาตรฐาน FTES ต่อไป

`

การวิเคราะห์จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ (FTES) ที่มีผลต่อ การดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2559 – 2563 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งAnalysis of the number of full-time students equivalent to the number of full-time instructors (FTES) affecting the implementation of internal quality assurance at the faculty level for the academic year 2016-2020 of the Faculty of Engineering a University. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.