การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ระยะที่สอง
Research and Development of a Model for School-based Teacher and Administrator Development in Chiang Mai and Chiang Rai’s Small-sized Schools, Phase 2
: ชื่อผู้วิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ และคณะนักวิจัย
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2556
: 2912
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย 3) เพื่อถอดบทเรียนจากการใช้รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย จำนวน 108 คน จาก 10 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินการใช้รูปแบบฯ แบบประเมินการร่วมกิจกรรมและแบบสะท้อนคิดการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 8 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็กหรือรูปแบบที่สร้างขึ้นในชื่อว่าวงล้อฟันเฟืองมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อการพัฒนาวิชาชีพโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นพบว่าการดำเนินงานทั้งสามสายพานคือ สายพานที่ 1 สายพานแห่งการมีส่วนร่วม 2 สายพานแห่งศรัทธา และ 3 สายพานแห่งคุณภาพ มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับดีถึงดีมาก และเมื่อพิจารณาการประเมินผลด้านคุณภาพพบว่าผลการปฏิบัติ (Performance) ของครู ผู้บริหารและผู้เรียนอยู่ในระดับดีถึงดีมากทุกกลุ่ม นอกจากนี้จากการถอดบทเรียนการใช้รูปแบบครั้งนี้พบว่า รูปแบบที่ใช้เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาวิชาชีพครู ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเด่นของรูปแบบอยู่ที่กระบวนการที่ใช้การฝึกอบรมโดยตรงโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียน และการขยายผลโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกโรงเรียนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ นับเป็นกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพที่ดำเนินการได้ไปพร้อมๆกัน ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง ยังผลให้ผู้เรียนพัฒนาคุณภาพทั้งด้านคุณลักษณ์ ทักษะ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปพร้อมกันอย่างต่อเนื่อง
การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ระยะที่สองResearch and Development of a Model for School-based Teacher and Administrator Development in Chiang Mai and Chiang Rai’s Small-sized Schools, Phase 2 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.