การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในรายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่องานเกษตรด้วยรูปแบบ STEM EDUCATION
Development Critical Thinking Skills of Vocational Students on English for Agriculture Learning by STEM EDUCATION at Phetchburi College of Agriculture and Technology

: ชื่อผู้วิจัย นาง ชนากานต์ จิตรมะโน
: ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
: อาชีวศึกษา
: ปี 2564
: 860

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้เป็น การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานเกษตรด้วยรูปแบบ STEM EDUCATION วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จาก STEM EDUCATION และ 2) พัฒนาทักษะกระบวนการคิดในการเรียนภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการวิจัยแบบ STEM EDUCATION ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2562 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 15 คน ได้จากการสมัครใจของนักเรียนที่เป็นกลุ่มประชากร 4 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานเกษตร รหัสวิชา 20000-1213 จำนวน 40 ข้อ แบบประเมินสมรรถนะการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัด กิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการพรรณนาคุณภาพ ของข้อมูลที่ได้ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.6 ขึ้นไป แสดงว่า แบบสอบถามมีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนรายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่องานเกษตร(20000-1213) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบ STEM Education มีการพัฒนาในด้านกระบวนการคิด วิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ พัฒนาด้านทักษะ การพูดและทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ดีขึ้นตามลำดับ การทดสอบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน และผลการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวนผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักการวัดผลประเมินผลจำนวนร้อยละ 100 และมีผลสัมฤทธิ์ในระดับดี ถึงดีเยี่ยมร้อยละ 100 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานเกษตร มีค่าเฉลี่ยระดับ 3.99 ซึ่งหมายถึงมีความพึงพอใจ หรือเห็นว่าการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education ให้แก่ ผู้เรียนที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานเกษตร ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการ พัฒนาผู้เรียนทางทักษะการคิดได้

`

การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในรายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่องานเกษตรด้วยรูปแบบ STEM EDUCATION Development Critical Thinking Skills of Vocational Students on English for Agriculture Learning by STEM EDUCATION at Phetchburi College of Agriculture and Technology is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.