รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 2 : จังหวัดอุดรธานี

: ชื่อผู้วิจัย รศ.ดร.ประยงค์ กลั่นฤทธิ์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2556
: 2758

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 ระยะ ระยะที่ 1 การยกร่างรูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และระยะที่ 3 การขยายผลการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การวิจัยเริ่มต้นใน พ.ศ. 2554 – 2555 เป็นการดำเนินงานในระยะที่ 1 และ 2

ระยะที่ 1 การยกร่างรูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทโรงเรียนเป้าหมาย ความต้องการในการพัฒนาของครูและผู้บริหารสถานศึกษาและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่เกิน 300 คน ในเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี 5 แห่ง เครื่องมือได้แก่ กรอบแนวทางการสนทนากลุ่ม แบบสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรและแบบสอบถามสมรรถภาพของครูและผู้บริหาร การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณให้สถิติพื้นฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพนำข้อมูลมาถอดความ วิเคราะห์เนื้อหา จำแนกประเภทข้อมูลและหาความสัมพันธ์โดยวิธีอุปนัย ผลการวิจัยได้รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของแต่ละโรงเรียน และกลไกและเครือข่ายการพัฒนาครูและผู้บริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก

ในปี พ.ศ. 2555 การดำเนินงานในระยะที่ 2 เป็นการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผลการวิจัยและพัฒนาในระยะที่ 2 สรุปได้ดังนี้ฃ

1. ส่วนมากจัดขึ้นตามปัญหา ความต้องการเร่งด่วน และนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ทั้งนี้กิจกรรมการพัฒนาครูที่จะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น ครูส่วนมากคิดว่าน่าจะมาจากการจัดการเรียนรู้ที่มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. โรงเรียนทั้ง 5 นำรูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารฯไปใช้ การพัฒนาครูมีสองระยะ คือระยะเปิดภาคเรียนและระยะปิดภาคเรียน

3. การจัดประชุมปฏิบัติการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับในระยะปิดภาคเรียน มีโรงเรียน 4 แห่ง ซึ่งครูส่วนมากพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนได้ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีและนำไปใช้จริง

4. การติดตามประเมินผลและนิเทศแบบกัลยาณมิตร โรงเรียนทั้ง 5 แห่ง หลังการนำแผนพัฒนาครูและผู้บริหารไปฏิบัติ พบว่าพฤติกรรมของผู้เรียนสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากขึ้น

5. การประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก

6. รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นรากฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ทำให้ครูจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ โดยครูเชื่อมั่นว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้ได้ตามศักยภาพ

7. สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขคือ ครูต้องมีอุดมการณ์ มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ ควรมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง

8. ข้อเสนอแนะ เขตพื้นที่การศึกษาต้องทำหน้าที่ประสานงานเชื่อมโยงอำนวยความสะดวก และควรมีการนิเทศติดตามผลงานของครูและผู้บริหารอย่างต่อเนื่องและขยายเครือข่ายต่อไป

`

รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 2 : จังหวัดอุดรธานี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.