การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
The Development of Curriculum to Enhance Life Skills in Digital Age for Secondary Students of Bangkok Metropolitan Administration School

: ชื่อผู้วิจัย นางสาวภรณี ศิริวิศาลสุวรรณ
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2563
: 702

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล 2) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ 2.1) ศึกษาพัฒนาการทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลก่อน ระหว่าง และหลังการใช้หลักสูตร 2.2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้หลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล และ 3) ขยายผลหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 31 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดบางปะกอก สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล หน่วยการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล แบบบันทึกของฉัน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีชื่อว่า “NICE Model” มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย 4 ขั้น คือ (1) ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ (Need Analysis: N) (2) ขั้นบูรณาการเนื้อหาสาระวิชา (Integrate to Content: I) (3) ขั้นสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ (Create to Experiential Learning: C) ประกอบด้วย 4 ขั้น คือ (3.1) ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด (Mindset: M) (3.2) ขั้นพิชิตแรงบันดาลใจ (Inspiration: I) (3.3) ขั้นใส่ใจการเรียนรู้ (Nature of Learning: N) (3.4) ขั้นการเสริมสร้างพลังความสามารถ (Empowerment: E) 4) ขั้นประเมินผล (Evaluation: E) 5) การวัดและประเมินผล และ 6) เงื่อนไขการนำหลักสูตรไปใช้ 2. ประสิทธิผลของหลักสูตร พบว่า 2.1) หลังการใช้หลักสูตร นักเรียนมีพัฒนาการของทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด 2.2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3. ผลการขยายผลหลักสูตร พบว่า 3.1) หลังการใช้หลักสูตร นักเรียนมีพัฒนาการของทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลอยู่ในระดับมาก และ 3.2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด

`

การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครThe Development of Curriculum to Enhance Life Skills in Digital Age for Secondary Students of Bangkok Metropolitan Administration School is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.