การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3
Use of learning maThe Buddhish Way of Operating School in The School Umder The Office of Phetchabun Primary Educational Service Area 3terials health promotion Health Education and Physical Education Learning Subject Group Grade 2

: ชื่อผู้วิจัย นาย ชัยณรงค์ ก้อนวิมล
: ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2554
: 185

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ปีการศึกษา 2554 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 144 คน ครูผู้สอน จำนวน 319 คน รวมทั้งหมด 463 คน เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้าเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent samples) และ F – test (One way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัย พบว่า

1. การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีการปฏิบัติมากสุด คือ ด้านการพัฒนาบุคลากรและคุณลักษณะบุคลากรโรงเรียนวิถีพุทธ รองลงมา คือ ด้านการจัดวิถีพุทธสู่วิธีการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติน้อยสุด คือ ด้านการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ

2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำแนกตามสถานภาพ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านการพัฒนาบุคลากรและคุณลักษณะบุคลากรโรงเรียนวิถีพุทธ และ ด้านการเกื้อกูลสัมพันธ์โรงเรียนวิถีพุทธและชุมชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับด้านอื่น ๆ มีระดับการปฏิบัติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

3. ผลการเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านการพัฒนาบุคลากรแลคุณลักษณะบุคลากรโรงเรียนวิถีพุทธ ด้านการเกื้อกูลสัมพันธ์โรงเรียนวิถีพุทธและชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

4. แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ผู้บริหารสถานศึกษาควรปฏิบัติ ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธสถานศึกษาควรให้ครูและผู้เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนตามความต้องการของผู้เรียนผู้ปกครองและชุมชนด้านการจัดวิถีพุทธสู่วิธีการเรียนรู้ควรนิมนต์พระสงฆ์หรือเชิญวิทยากรมาสอนพุทธศาสนานักเรียนสม่ำเสมอด้านการพัฒนาบุคลากรและคุณลักษณะบุคลากรโรงเรียนวิถีพุทธควรส่งเสริมให้มีการนำหลักธรรมมาเป็นฐานในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้านการเกื้อกูลสัมพันธ์โรงเรียนวิถีพุทธและชุมชนสถานศึกษาควรส่งเสริม ให้ทุกคนมีส่วนร่วม และ คุณค่าในการรักษาและสานต่อพระพุทธศาสนาด้านกิจกรรมเสนอแนะการพัฒนาสถานศึกษาควรการจัดการด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมโรงเรียนวิถีพุทธ

`

การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3Use of learning maThe Buddhish Way of Operating School in The School Umder The Office of Phetchabun Primary Educational Service Area 3terials health promotion Health Education and Physical Education Learning Subject Group Grade 2 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.