การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Analysis of internal education quality assurance performance meet the educational quality criteria for operational excellence (EdPEx) Case study : Faculty of Engineering, Mahasarakham University.

: ชื่อผู้วิจัย นาย ชยภร ศิริโยธา
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: อุดมศึกษา
: ปี 2564
: 709

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นชุดคำถามที่กำหนดขึ้นเป็นกรอบการสัมภาษณ์เพื่อสอบถามสิ่งที่สนใจศึกษาและการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการประจำคณะฯ หัวหน้ากลุ่มงาน และบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์แบบเจาะจง จำนวน 48 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในสถานภาพตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย (ร้อยละ 45.83) ระยะเวลาการปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี (ร้อยละ 43.75) และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ต่ำกว่า 1 ปี (ร้อยละ 85.42) 2) ผู้ตอบแบบสอบถามได้เข้ามามีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ดังนี้ 2.1) การเข้ารับฟังนโยบายการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ จำนวน 2 ครั้ง (ร้อยละ 66.67) 2.2) เข้ารับการฝึกอบรมฯ และการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ จำนวน 1 ครั้ง (ร้อยละ 66.67) 2.3) มีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ จำนวน 2 ครั้ง (ร้อยละ 35.42) 2.4) และจากข้อคำถามและการสัมภาษณ์ปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ จำนวน 7 หมวด โดยผลการวิเคราะห์แต่ละหมวดการดำเนินงาน พบว่า หมวดที่ 1) การนำองค์กร ภาพรวมมีความถี่ในการเลือกอันดับสูงสุด รองลงมา หมวดที่ 2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ หมวดที่ 7) ผลลัพธ์ หมวดที่ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร หมวดที่ 6) การมุ่งเน้นปฏิบัติการ หมวดที่ 4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ และหมวดที่ 3) การมุ่งเน้นลูกค้า

`

การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามAnalysis of internal education quality assurance performance meet the educational quality criteria for operational excellence (EdPEx) Case study : Faculty of Engineering, Mahasarakham University. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.