การบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยโดยใช้หนังสือเล่มเล็กสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Integration of Academic Service - Learning and Teaching for Enhancing Reading and Writing Skills Using Booklets Prathomsuksa 4 Action Research

: ชื่อผู้วิจัย รองศาสตราจารย์ยุพิน อินทะยะ
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2562
: 948

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความรู้ ความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยโดยใช้หนังสือเล่มเล็กสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2. ศึกษาทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยหลังการใช้หนังสือเล่มเล็กของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยโดยใช้หนังสือเล่มเล็กสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน ครูผู้สอนจำนวน 3 คน และนักเรียนจำนวน 87 คน ได้มาโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากโรงเรียนวัดข่วงสิงห์ โรงเรียนวัดสวนดอก และโรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดศรีดอนไชย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านเขียนภาษาไทย 2. แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยโดยใช้หนังสือเล่มเล็ก 3. แบบประเมินทักษะการอ่านออกเสียง การอ่านจับใจความสำคัญจากการอ่านหนังสือเล่มเล็ก 4. แบบประเมินผลงานการเขียนหนังสือเล่มเล็กของนักเรียน และ 5. แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอน นักเรียน และนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยโดยใช้หนังสือเล่มเล็กสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน



ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาทักษะการอ่านเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสือเล่มเล็กสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมากได้คะแนนร้อยละ 89 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 2.นักเรียนมีทักษะด้านการอ่านเขียนภาษาไทยหลังการใช้หนังสือเล่มเล็กสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยภาพรวมอยู่ระดับดีมาก มีคะแนนคิดเป็นร้อยละ75 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 3. นักศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่านเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสือเล่มเล็กสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกัน (x̅ = 4.53, x̅ = 4.56 , x̅ = 4.53) และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อหนังสือเล่มเล็กที่นักศึกษาใช้ประกอบการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.67)

`

การบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยโดยใช้หนังสือเล่มเล็กสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการIntegration of Academic Service - Learning and Teaching for Enhancing Reading and Writing Skills Using Booklets Prathomsuksa 4 Action Research is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.

งานวิจัยล่าสุด