การศึกษาคัมภีร์ใบลาน พับสา และจารึกเพื่อสนับสนุนข้อมูลการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาวัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
A Study of Palm leave, Pub-sa Manucripts and Inscriptions for Support the Historical Tourism Data: A Case Study of Wat Chiang Man, Tambol Sripoom, Muang District, Chiang Mai Province

: ชื่อผู้วิจัย ดิเรก อินจันทร์
: ตำแหน่ง -
: อื่นๆ
: ปี 2563
: 1326

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

คัมภีร์ใบลาน พับสา และจารึก ถือเป็นเอกสารมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ศึกษาและเผยแพร่ เพราะบันทึกเรื่องราวต่างๆ เช่น คำสอนทางศาสนา ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ความเชื่อและวิถีชีวิตของคนในอดีต งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาคัมภีร์ใบลาน พับสา และจารึกของวัดเชียงมั่น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

จากการศึกษาคัมภีร์ใบลาน จำนวน 93 เรื่อง พับสา จำนวน 33 เล่ม และ จารึก จำนวน 4 หลัก พบข้อมูลที่สำคัญและน่าสนใจ เช่น ประวัติและเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่และวัดเชียงมั่น รายชื่อวัดในเมืองเชียงใหม่ กฎหมายโบราณ กฎหมายคณะสงฆ์ ตำรายา ตำราปลูกต้นไม้มงคล แผนผังเมืองเชียงแสน ประวัติการสร้างกรอบไม้ประดิษฐานพระศิลา และประวัติการสร้างฐานและฉัตรทองคำประดิษฐานพระเสตังคมณี ตลอดจนจารึกอักษรปัลละ และจารึกอักษรธรรมล้านนาบนฐานพระพุทธรูปที่เก่าที่สุดในล้านนา เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาประกอบการนำชมหรืออธิบายเรื่องราวที่น่าสนใจของวัดเชียงมั่น ทั้งในวิหารหลวง วิหารพระแก้ว เจดีย์ หอไตร และอุโบสถ ได้เป็นอย่างดี นอกจากจะเป็นข้อมูลเชิงลึกจากเอกสารลายลักษณ์อักษรที่น่าเชื่อถือแล้ว ยังทำให้คนทั่วไปเห็นคุณค่าของการศึกษาคัมภีร์ใบลาน พับสา และจารึก ตลอดจนดึงดูดใจให้ตัดสินใจมาเยี่ยมชม หรือกลับมาเยี่ยมชนอีกครั้งของทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ

`

การศึกษาคัมภีร์ใบลาน พับสา และจารึกเพื่อสนับสนุนข้อมูลการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาวัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่A Study of Palm leave, Pub-sa Manucripts and Inscriptions for Support the Historical Tourism Data: A Case Study of Wat Chiang Man, Tambol Sripoom, Muang District, Chiang Mai Province is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.