ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย
Success Factors of Educational Administration of Schools Transferred from Office of the Basic Education Commission (OBEC) to Local Administrative Organizations (LAOs) in the Lower Southern Part of Thailand

: ชื่อผู้วิจัย ดร.พิชญา ชูเพชร
: ตำแหน่ง -
: อื่นๆ
: ปี 2560
: 592

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฎการณ์วิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและการทำงานของปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ผู้วิจัยเลือกโรงเรียนแบบเจาะจงโดยเลือกโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม (พ.ศ.2554-2558) ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา จำนวน 4 จังหวัด 5 โรงเรียน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับผิดชอบ ด้านการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักวิชาการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อยืนยันข้อมูล และนำข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์มานำเสนอในการสนทนากลุ่มของผู้แทนท้องถิ่นจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนผู้ปกครอง และผู้บริหารโรงเรียน จังหวัดละ 5 คน เพื่อยืนยันข้อมูล ปัจจัยและการทำงานของปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารการศึกษาของโรงเรียน โดยพิจารณาจากตัวบ่งชี้พื้นฐานตัวที่ 1-5 ตามผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ.2554 – 2558) ผลการศึกษาพบว่า

1. ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย คือ ปัจจัยด้านผู้บริหาร ครูผู้สอน บรรยากาศของโรงเรียน และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. การทำงานของปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนแต่ละปัจจัย ดังนี้

2.1 ปัจจัยด้านผู้บริหาร ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่เห็นความสำคัญของการศึกษา สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาโรงเรียน สนับสนุนสื่อที่ทันสมัย พัฒนาผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมมีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ กล้าคิด กล้าทำ มีประสบการณ์ มุ่งมั่น ยึดหลักการบริหารแบบมืออาชีพ เน้นการมีส่วนร่วม ใช้โรงเรียนเป็นฐาน

2.2 ปัจจัยด้านครูผู้สอน ได้แก่ ครูมีประสบการณ์การสอน จำนวนครูที่เพียงพอ สอนตรงวิชาเอก เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้สื่อที่ทันสมัย ฝึกให้นักเรียนทำโครงงาน ใช้กระบวนกลุ่มเพื่อให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น เข้าใจพื้นฐานของนักเรียน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีคุณธรรม จริยธรรม

2.3 ปัจจัยด้านบรรยากาศของโรงเรียน บรรยากาศภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน การปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลภายในโรงเรียน การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนในการจัดบรรยากาศโรงเรียน

2.4 ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน ร่วมจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น สนับสนุนทรัพยากร ฝึกอาชีพให้แก่นักเรียน ร่วมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและส่งเสริมสุขภาพกายสุขภาพจิต

ข้อเสนอแนะเพื่อความสำเร็จในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย คือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดควรให้อิสระแก่ผู้บริหารโรงเรียนในการบริหารงบประมาณเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการศึกษา และควรสรรหาศึกษานิเทศก์ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องคุณภาพการศึกษา เพื่อทำหน้าที่นิเทศ แนะนำ กระตุ้นให้ครูและผู้บริหารโรงเรียนเกิดความรู้ ความตระหนัก และมีทักษะในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน สามารถเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการให้แก่ผู้บริหารและครูได้

`

ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยSuccess Factors of Educational Administration of Schools Transferred from Office of the Basic Education Commission (OBEC) to Local Administrative Organizations (LAOs) in the Lower Southern Part of Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.