การพัฒนาแนวทางการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย
DEVELOPEMENT OF BUDGET ALLOCATION GUIDELINES TO PROMOTE NON-FORMAL EDUCATION FOR BASIC NONFORNAL EDUCATION IN THAILAND

: ชื่อผู้วิจัย เขตต์ เลิศวิวัฒนพงษ์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2560
: 906

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) พัฒนาแนวทางการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างจาก 70 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอ (ศูนย์ กศน.อําเภอ) ใน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลําปาง สระบุรี ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ระนอง กรุงเทพมหานคร และนครนายก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป สภาพการจัดสรรงบประมาณ และแนวทางการจัดสรรงบประมาณ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) สภาพปัญหาโดยรวมของการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบของประเทศไทยในช่วงระหว่าง ปีงบประมาณ 2556-2558 อยู่ในระดับปานกลางเมื่อจําแนกสภาพออกเป็น 4 ด้านพบว่า สภาพปัญหาที่พบเรียงตามรุนแรงได้แก่ 1) ความสอดคล้องของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรกับนโยบายการศึกษา 2) ความเหมาะสมของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับการเบิกจ่ายงบประมาณ 3) ความเพียงพอของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อการบริหารการศึกษาและ 4) ความตรงต่อเวลาของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรตามลําดับเมื่อทดสอบความแตกต่างของระดับคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นของสภาพการจัดสรร จําแนกเป็นรายจังหวัด ภาค และขนาดจังหวัด ไม่พบว่าความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 2) แนวทางการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษา นอกระบบ ควรประกอบไปด้วย 4 หลักการ เรียงตามลําดับความเหมาะสมดังนี้ หลักการบริหารจัดการมี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การวางแผน การประสานงาน และการกําหนดเป้าหมาย หลักการงบประมาณมี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ประสิทธิภาพ ประชาธิปไตย และยุติธรรม หลักการการศึกษานอกระบบมี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ความเสมอภาค ความยืดหยุ่นและเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และพระราชบัญญัตินโยบายการศึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2560-2579) มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบได้ การมีส่วนร่วมของภาคส่วนอื่น ๆ ในการจัดการศึกษา และเป็นการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อทดสอบความแตกต่างของระดับคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นของรายละเอียดในแต่ละองค์ประกอบย่อยใน 4 หลักการ จําแนกเป็นรายจังหวัด ภาค และขนาดจังหวัด พบว่าขนาดของจังหวัดมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 กล่าวคือ จังหวัดขนาดเล็กมีข้อเสนอแนะในรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบแตกต่างไปจากจังหวัดขนาดใหญ่และขนาดกลาง

`

การพัฒนาแนวทางการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยDEVELOPEMENT OF BUDGET ALLOCATION GUIDELINES TO PROMOTE NON-FORMAL EDUCATION FOR BASIC NONFORNAL EDUCATION IN THAILAND is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.