สภาพและปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันโรคในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโนา 2019 (COVID-19) ของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
A study of Circumstances Surrounding the Problems in Teaching and Learning Activities with the Implementation for Control of the Pandemic Covid-19 in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Chonburi- Rayong

: ชื่อผู้วิจัย นางสาว ศมณณ์ญา บุญประสพ
: ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
: อื่นๆ
: ปี 2564
: 594

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการกรณีศึกษา (Case Study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันโรค และเพื่อศึกษาบทบาทและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการสภาพและปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันโรคในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือการวิจัย คือ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) และแบบสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 51 คน ครูกลุ่มงานวิชาการจำนวน 51 ครูกลุ่มงานอนามัยของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 51 คน สัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับการสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยคณะศึกษานิเทศก์จำนวน 10 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกการสนทนากลุ่มครั้งที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยคณะผู้บริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 6 คน โดยได้มาด้วยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง นอกจากนี้ทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปด้วยวิธีการอุปนัย (Inductive method) การสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ทั้งในแง่มุมของคนภายใน (Emic) โดยการสอบถามจากคณะครูในสถานศึกษา และสอบถามความคิดเห็นจากบุคคลภายนอกในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา รวมถึง การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของสถานศึกษาเพื่อสังเกตการดำเนินกิจกรรมที่เป็นปัจจุบันเพื่อสนับสนุนการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนและมาตรการการป้องกันโรคในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่าสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ได้ดำเนินมาตรการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นไปอย่างดีตามมาตรฐานของกรมอนามัย และมีการนำรูปแบบการสอน 5 รูปแบบของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ตามบริบทของสถานศึกษา โดยปัญหาอุปสรรคด้านการจัดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่ 1) ครูผู้สอน โดยด้านครูผู้สอนพบว่า ครูผู้สอนต้องใช้เวลาในการเตรียมการสอนที่มากขึ้น มีความกังวลด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านวินัยของผู้เรียนเป็นต้น 2) ด้านผู้เรียนพบว่า ขาดแคลนด้านสัญญาณอินเตอร์เน็ต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเข้าถึงการเรียนรู้ ความไม่เข้าใจในเนื้อหาสาระ ความเครียด และการขาดวินัยในการเรียน เป็นต้น และ 3)ด้านผู้ปกครองพบว่า ขาดกำลังทรัพย์ในการจัดหาอุปกรณ์และค่าสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ผู้เรียน ไม่สามารถให้คำแนะนำผู้เรียนเรื่องการเรียน และไม่มีเวลาดูแลผู้เรียนให้มีวินัยในการเข้าเรียนและส่งงานได้ จึงส่งผลให้ผู้ปกครองกังวลกับการเรียนของผู้เรียน

2. บทบาทและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนและมาตรการการป้องกันโรคในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่า สถานศึกษาที่มีความพร้อมและผู้บริหารบางส่วนสามารถดำเนินการให้มีการสนับสนุนผู้เรียนในการเรียนออนไลน์ได้ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทการสนับสนุน ได้แก่ การให้ยืมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การมอบทุนสำหรับการจัดซื้อสัญญาณอินเตอร์เน็ต และการลดค่าบำรุงการศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นผู้ที่มีทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงพร้อมปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ มีทักษะการสื่อสาร มีทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีมนุษย์สัมพันธ์ เป็นผู้อำนวยความสะดวก และประสานความร่วมมือ เป็นผู้นำทางวิชาการ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน



ABSTRACT

Title: A study of Circumstances Surrounding the Problems in Teaching and Learning Activities with the Implementation for Control of the Pandemic Covid-19 in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Chonburi- Rayong



This case study in research design aims to study the circumstances and problems associated with teaching and learning activities implemented for the control of the pandemic Covid-19 and the educational leaderships styles used in schools during semester 1 academic year 2021. Under the Secondary Educational Service Area Office Chonburi- Rayong some in-depth interviews were implemented to gather informative and qualitative data from key informants.

The focus was on groups discussions used to collect some in-depth information about opinions directed toward topics and objective fulfillments. The key respondents were divided into three groups of (1) a group of school administrators, academic department teachers, and school health service teachers from 51 schools. (2) a group of educational supervisors made up of 10 people (3) a group of The Secondary Educational Service Area Office Chonburi- Rayong which was made up of six administrators. The usual approach in qualitative sampling is a purposive sampling during the selection process of key respondents. The instruments used in this study included semi-structured interviewing questions, and descriptive analysis.

The research findings were as followed:



1. For the Teaching and Learning Activities aspect perceived that all 51 schools had implemented the five learning approaches from Ministry of Education. For the circumstances of the control of the pandemic Covid-19 found that all 51schools had implemented and followed the pandemic preventive instruction accordingly to the Department of Health, Ministry of Public Health. Nevertheless, there were three domains of the teaching and learning activities problems in all schools as 1) a teacher concerned 2) a student concerned 3) a parental concerned. The teacher concerned aspect revealed that more time consuming for preparation of online lessons; online class teaching anxiety; student discipline in online learning and responsibility anxiety., etc. The student concerned aspect showed that the students lack internet fee and devices for online learning; an ambiguity in learning; distancing learning stress; lack of learning self –discipline., etc. Lastly, the parental concerned aspect showed that lack of financial support for student’s device and internet-fee; inability to advice student’s learning contents; failure to take care of student’s learning discipline; and anxiety to student learning outcomes.



For the roles and leadership styles of school administrators during the COVID-19 pandemic found that there were some readiness schools conveyed supportiveness to students which can categorized in three kinds as 1) device lending 2) an internet fee grants 3) a refund some portion of tuition fee. It can be underlined that school administrators’ roles and leadership styles play significant influences towards the management of all school operations during Covid-19 pandemic or in any unpredictable crisis. The data collected in this study stressed the effective roles and leadership styles as possession of 21st century leadership skills; visionary; adaptative skills; good communication skills; creativity and problem-solving skills; facilitation skill; technological trend awareness and student oriented.

`

สภาพและปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันโรคในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโนา 2019 (COVID-19) ของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองA study of Circumstances Surrounding the Problems in Teaching and Learning Activities with the Implementation for Control of the Pandemic Covid-19 in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Chonburi- Rayong is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.

งานวิจัยล่าสุด