ผลการเรียนรู้วิชาว่ายน้ำ 1 ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิทยาศาสตร์การกีฬา และโปรแกรมวิชาการฝึกสอนกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม

: ชื่อผู้วิจัย นายกิตติกุล รัตนรังสิกุล
: ตำแหน่ง -
: อุดมศึกษา
: ปี 2553
: 150

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของผลการเรียนรู้วิชาว่ายน้ำ 1 ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิทยาศาสตร์การกีฬา และโปรแกรมวิชาการฝึกสอนกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของผลการเรียนรู้วิชาว่ายน้ำ 1 ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิทยาศาสตร์การกีฬา และโปรแกรมวิชาการฝึกสอนกีฬาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม เพื่อเปรียบผลการเรียนรู้วิชาว่ายน้ำ 1 ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิทยาศาสตร์การกีฬา และโปรแกรมวิชาการฝึกสอนกีฬาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตมหาสารคาม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังจากที่เรียนโดยใช้กิจกรรมแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อผลการเรียนรู้วิชาว่ายน้ำ 1 ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิทยาศาสตร์การกีฬา และโปรแกรมวิชาการฝึกสอนกีฬาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิทยาศาสตร์การกีฬา และโปรแกรมวิชาการฝึกสอนกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม จำนวน 1 ห้องเรียน คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิทยาศาสตร์การกีฬา จำนวนนักศึกษา 9 คน เป็นนักศึกษาหญิง 3 คน เป็นนักศึกษาชาย 6 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิชาการฝึกสอนกีฬา จำนวนนักศึกษา 3 คน เป็นนักศึกษาชาย 3 คน รวมนักศึกษาทั้ง 2 โปรแกรม ทั้งสิ้น 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากจัดนักศึกษาให้มีความสามารถคละกันอยู่แล้ว คือ มีนักศึกษาเก่ง ปานกลาง และอ่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 5 ชนิด ประกอบด้วย แผนการสอนวิชาว่ายน้ำ 1 ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบบันทึกพฤติกรรมและผลงานระหว่างเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการเปรียบเทียบโดยใช้ t-test

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนระหว่างเรียนของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 114.00 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.43 และได้คะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.50 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.50 มี ประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 81.43/87.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของผลการเรียนรู้วิชาว่ายน้ำ 1 ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.0450 หมายความว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 04.50 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ด้านความรู้ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ทั้ง 12 คน ปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อผลการเรียนรู้วิชาว่ายน้ำ 1 ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด



`

ผลการเรียนรู้วิชาว่ายน้ำ 1 ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิทยาศาสตร์การกีฬา และโปรแกรมวิชาการฝึกสอนกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.