รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 2 : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

: ชื่อผู้วิจัย ผศ.จินตนา เวชมี
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2556
: 2277

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

ครูเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีหน้าที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยตรง แต่จากผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนของหลายหน่วยงานที่ผ่านมาพบว่า คุณภาพผู้เรียนยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ คุณภาพผู้เรียนที่ตกต่ำเป็นภาพสะท้อนถึงคุณภาพครูที่ยังต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีปัญหาหลายด้าน การพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก จะเป็นหนทางหนึ่งในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้น และมีความจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการพัฒนาที่เหมาะสมและมีลักษณะเฉพาะเนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กหลายโรงเรียนมีครูไม่ครบชั้นเรียน ครูคนเดียวต้องสอนหลายระดับและหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ การพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนขนาดเล็กจึงมีความจำเป็นต้องหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมและแตกต่างไปจากโรงเรียนขนาดอื่นๆ จึงได้สร้างรูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ซึ่งใช้แนวคิดของกระบวนการแบบมีส่วนร่วมและเน้นการปฏิรูปผู้เรียนเป็นสำคัญให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยรูปแบบการมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ในฐานะที่ตกเป็นเจ้าของท้องถิ่นและชุมชน โรงเรียนต้องพึ่งพาตนเอง มีพื้นที่โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยสร้างแรงบันดาลใจที่ตรงตามความสนใจในการเรียนรู้เฉพาะเรื่อง

จากการวิจัยนี้ในส่วนของครูนั้นคือผู้ที่ได้รับการพัฒนามากที่สุดคือ ได้รับความช่วยเหลือเรื่องกำลังแรงงานทำให้มีโอกาสได้คิดและปฏิบัติงานที่สร้างสรรค์มากขึ้นลดภาระในช่วงเวลาที่นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมให้ครูได้มีโอกาสหยุดคิดไตร่ตรองคิดหาหนทางในการจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์มากขึ้น อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนระหว่างประสบการณ์ของครูกับนวัตกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่จากมหาวิทยาลัย

ในส่วนผู้บริหารสถานศึกษานั้นได้เป็นผู้ริเริ่มตั้งแต่ต้นและมีบทบาทสำคัญตัดสินใจบริหารจัดการให้สามารถดำเนินโครงการไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้บริหารทั้ง 5 แห่ง ต่างมีรูปแบบในการควบคุมดูแลกำกับที่ต่างกันไป บางแห่งดูแลใกล้ชิด บางแห่งร่วมปฏิบัติงาน บางแห่งมอบหมายให้บุคลากรร่วมดำเนินการ ซึ่งหากดูแลใกล้ชิดก็จะสามารถสร้างความเข้าใจและมีสัมพันธภาพอันดีและข้อมูลไม่ผิดพลาด แต่หากมอบหมายให้บุคลากรอื่นร่วมดำเนินการอาจมีความสับสนบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคือประสบการณ์ที่ทุกฝ่ายต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อเป็นทางเลือกและเป็นประสบการณ์ในอนาคตสำหรับนักศึกษาและผู้บริหารเอง

`

รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 2 : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.