การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยด้วยสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

: ชื่อผู้วิจัย สมพงษ์ ดอกบัว
: ตำแหน่ง Position
: เทคโนโลยีการศึกษา
: ปี 2561
: 278

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านวิชาภาษาไทยด้วยสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) (2) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยด้วยสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) และ (3) ประเมินผลกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยด้วยสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) แบ่งเป็น 3 ระยะ กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 12 คน ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 17 (บุ่งค้า) 9 โรงเรียน จำนวน 269 คน โดยมีโรงเรียนบ้านช่องเม็กเป็นกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตการมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้การวิจัย ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัญหาที่มีค่าสูงสุดด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย คือ ครูผู้สอน ด้านการขาดการอบรมและสนับสนุนการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย รองลงมา คือ ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารและผู้ปกครองนักเรียน ด้านคุณภาพสื่อและอุปกรณ์แหล่งเรียนรู้ ด้านที่มีค่าน้อยที่สุด คือ ด้านตัวนักเรียน (2) คำพื้นฐานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคำระดับยากมาก 105 คำ ยาก 295 คำ ยากปานกลาง 412 คำ ง่าย 220 คำ ง่ายมาก 178 คำ (3) กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นสร้างคุณธรรม ขั้นสร้างความตระหนัก ขั้นสาธิต ขั้นฝึกทักษะ ขั้นนำไปใช้ ขั้นสรุปและการประเมินผล ขั้นพัฒนาระบบการสอน ทำให้ผลการเรียนรู้หลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีค่าเฉลี่ยด้านทักษะกระบวนการและเจตคติต่อการเรียนสูงขึ้นจากก่อนเรียนในระดับดี และ (4) กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยด้วยสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) มีค่าความพึงพอใจของผู้ปกครองและนักเรียนในระดับมากที่สุด ผู้บริหาร ครูผู้สอนและครูอาสา พี่เลี้ยงนักเรียน มีค่าความพึงพอใจในระดับมาก สรุป การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยด้วยสื่อ (Multimedia) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้สอน เพราะมีการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สามารถใช้จัดการเรียนการสอนได้ตามศักยภาพของผู้เรียน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสามารถนำผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการสอนอ่านภาษาไทยบน Application on Mobile ไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กับสาระการเรียนรู้อื่นได้ตามความเหมาะสม

`

การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยด้วยสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.